ใบความรู้ ระบบขับถ่าย
ของเสีย หมายถึง
สารที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอริซึม (metabolism) ภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่
ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่น น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ยูเรีย เป็นต้น
นอกจากนี้สารที่มีประโยชน์ ์ปริมาณมากเกินไปร่างกายก็จะกำจัดออก
เมแทบอริซึม (metabolism) หมายถึงการบวนการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต
การกำจัดของเสียในร่างกายเกิดขึ้นได้หลายทาง เช่น ทางไต ทางผิวหนัง ทางปอด
ทางลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
ไต (Kidney) ทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของน้ำปัสสาวะ
มี 1 คู่ รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วดำ
อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว
ถ้าผ่าไตตามยาวจะพบว่าไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น
คือเปลือกไตชั้นนอกกับเปลือกไตชั้นในมีขนาดยาวประมาณ 10 เซนติเมตร
กว้าง 6 เซนติเมตร หนา 3 เซนติเมตร
บริเวณตรงกลางของไตมีส่วนเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ
ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไต (nephron) นับล้านหน่วยเป็นท่อที่ขดไปมาโดยมีปลายท่อข้างหนึ่งต้น
เรียกปลายท่อที่ตันนี้ว่า “ โบว์แมนส์แคปซูล (Bowman
s capsule)” ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายถ้วยภายในแอ่งจะมีกลุ่มเลือดฝอยพันกันเป็นกระจุกเรียกว่า
“ โกลเมอรูลัส (glomerulus)” ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดที่ไหลผ่านไต
ที่บริเวณท่อของหน่วยไตจะมีการดูดซึมสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น
แร่ธาตุ น้ำตาลกลูโคส
กรดอะมิโนรวมทั้งน้ำกลับคืนสู่หลอดเลือดฝอยและเข้าสู่หลอดเลือดดำ ส่วนของเสียอื่นๆ
ที่เหลือคือ น้ำปัสสาวะ จะถูกส่งมาตามหลอดไตเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
ซึ่งมีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
แต่กระเพาะปัสสาวะสามารถที่จะหดตัวขับน้ำปัสสาวะออกมาได
เมื่อมีปัสสาวะมาคลั่งอยู่ประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ซึ่งในวันหนึ่งๆ ร่างกายจะขับน้ำปัสสาวะออกมาประมาณ 1 – 1.5 ลิตร
น้ำปัสสาวะประกอบด้วยสารต่างๆ ดังนี้ คือ น้ำ 95% โซดียม
0.35% โพแทสเซียม 0.15% คลอรีน 0.6%
ฟอสเฟต 0.15% แอมโมเนีย 0.04% ยูเรีย 2.0% กรดยูริก 0.05% และครีเอทินิน
0.75%
น้ำปัสสาวะจะประกอบไปด้วยน้ำและยูเรียเป็นส่วนใหญ่
ส่วนแร่ธาตุมีอยู่เล็กน้อย ถ้ามีการตกตะกอนของแร่ธาตุไปอุดตันทางเดินท่อปัสสาวะ
จะทำให้ปัสสาวะลำบาก เรียกลักษณะอาการอย่างนี้ว่า “ โรคนิ่ว ” เมื่อไตผิดปกติจะทำให้สารบางชนิดปนออกมากับน้ำปัสสาวะ เช่น เม็ดเลือดแดง
กรดอะมิโน น้ำตาลกลูโคส เป็นต้น ปัจจุบันแพทย์มีการใช้ไตเทียมหรืออาจจะใช้การปลูกไตให้กับผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานได้ไตเทียม เป็นเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย
ส่วนการปลูกไตเป็นการนำไตของผู้อื่นมาใส่ให้กับผู้ป่วย
เหงื่อ (sweat) ประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ และมีสารอื่นๆ
บ้างชนิดปนอยู่ด้วย เช่น เกลือโซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย เป็นต้น เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนังโดยผ่านทาวต่อมเหงื่อซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกายใต้ผิวหนัง
ต่อมเหงื่อของคนเราแบ่งได้เป็น
2 ชนิด
คือ
1. ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ที่ผิวหนังทั่วทุกแห่งของร่างกาย
ยกเว้นที่ริมฝีปากและที่อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหงื่อเหล่านี้ติดต่อกับท่อขับถ่ายซึ่งเปิดออกที่ผิวหนังชั้นนอกสุด
ต่อมเหงื่อขนาดเล็กนี้สร้างเหงื่อแล้วขับถ่ายออกมาตลอดเวลา
แต่เนื่องจากมีการระเหยไปตลอดเวลาเช่นกัน ดังนั้น จึงมักสังเกตไม่ค่อยได้
แต่เมื่ออุณหภูมิภายนอกร่างกายสูงขึ้นหรือขณะออกกำลังกายปริมาณเหงื่อที่ขับถ่ายออกมาจะเพิ่มขึ้นจนสังเกตเห็นได้
ที่อุณหภูมิ 32 0C
จะมีการขับเหงื่อออกมาเห็นได้ชัดเจนเหงื่อจากต่อมเหงื่อขนาดเล็กเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ
99 สารอื่นๆ ร้อยละ 1 ซึ่งได้แก่
เกลือโซเดียมคลอไรด์และสารอินทรีย์พวกยูเรีย นอกนั้น เป็นสารอื่นอีกเล็กน้อยเช่น
แอมโมเนีย กรดอะมิโน น้ำตาล กรดแลกติก
2. ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ ไม่ได้มีอยู่ทั่วร่างกาย พบได้เฉพาะบางแห่ง ได้แก่ รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก
จมูก อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหล่านี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรก และจะเปิดที่รูขนใต้ผิวหนัง ปกติจะไม่เปิดโดยตรงที่ผิวหนังชั้นนอกสุด ต่อมชนิดนี้จะทำงานตอบสนองต่อการกระตุ้นทางจิตใจ สารที่ขับถ่ายจากต่อมชนิดนี้มักมีกลิ่นซึ่งก็คือกลิ่นตัว นั่นเอง โครงสร้างภายในต่อมเหงื่อจะมีท่อขดอยู่เป็นกลุ่มและมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงโดยรอบหลอดเลือดฝอยเหล่านนี้จะลำเลียงของเสียมายังต่อมเหงื่อเมื่อของเสียมาถึงบริเวณต่อเหงื่อก็จะแพร่ออกจากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ท่อในต่อมเหงื่อ จากนั้นของเสียซึ่งก็คือ เหงื่อ จะถูกลำเลียงไปตามท่อจนถึงผิวหนังชั้นบนสุด ซึ่งมีปากท่อเปิดอยู่ หรือที่เรียกว่า รูเหงื่อ ผิวหนังนอกจากจะทำหน้าที่กำจัดของสียในรูปของเหงื่อแล้วยังทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายด้วยโดยความร้อน ที่ขับออกจากร่างกายทางผิวหนังมีประมาณร้อยละ 87.5 ของความร้อนทั้งหมด
หลังจากการย่อยอาหารเสร็จสิ้นลง อาหารส่วนที่เหลือและส่วนที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้จะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางลำไส้ใหญ่(
ทวารหนัก ) ในรูปรวมที่เรียกว่า “ อุจจาระ ”
ถ้าอุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน
ผนังลำไส้ใหญ่จะดูดน้ำกลับเข้าไปในเส้นเลือด
ทำให้อุจจาระแข็งเกิดความยากในการขับถ่าย เรียกว่า “ ท้องผูก
”
ผู้ที่มีอาการท้องผูกจะรู้สึกแน่นท้อง อึดอัด
บางรายอาจมีอาการปวดท้องหรือปวดหลังด้วย อาการต่างๆ
เหล่านี้จะหายไปเมื่อถ่ายอุจจาระออกจากร่างกาย ผู้ที่มีอาการท้องผูกนานๆ
อาจเป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวารได้สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อยเกินไป
กินอาหารรสจัด ถ่ายไม่เป็นเวลา เครียด สูบบุหรี่จัด ดื่มน้ำชาหรือกาแฟมากเกินไป
ใยอาหาร ได้แก่ พืชผักต่างๆ
ใยอาหารนอกจากจะไม่ทำให้ท้องผูกแล้ว ยังช่วยลดสารพิษต่างๆ
ทำให้สารพิษผ่านลำไส้ใหญ่ไปอย่างรวดเร็ว ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียอาศัยอยู่จำนวนมาก
มีทั้งที่เป็นประโยชน์ ( ช่วยสังเคราะห์วิตามิน B 12 ) และโทษ (เชื้อโรคต่างต่างๆ )
การกำจัดของเสียทางปอด
ของเสียที่ถูกกำจัดออกนอกร่างกายทางปอด
ได้แก่ น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการหายใจของเซลล์ต่างๆ
ในร่างกาย
นตอนในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายทางปอด มีดังนี้
1. น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นแพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือด
โดยจะละลายปนอยู่ในเลือด
2. เลือดที่มีของเสียละลายปนอยู่จะถูกลำเลียงส่งไปยังปอด
โดยการลำเลียงผ่านหัวใจเพื่อส่งต่อไปแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด
3. เลือดที่มีของเสียละลายปนอยู่เมื่อไปถึงปอด
ของเสียต่างๆที่สะสมอยู่ในเลือดจะแพร่ผ่านผนังของหลอดเลือดเข้าสู่ถุงลมของปอดแล้วลำเลียงไปตามหลอดลม เพื่อกำจัดออกจากร่างกาย
ทางจมูกพร้อมกับลมหายใจออก
การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย
ไต ตับ และลำไส้ เป็นต้น
ไต มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย อยู่ด้านหลังของช่องท้อง
ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ
โครงสร้างของระบบขับถ่าย
ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ไตของคนมี 1 คู่ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง
การดูแลรักษาระบบขับถ่าย
เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย คือ อาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และควรดื่มน้ำให้มาก
การกำจัดของเสียออกทางไต
ไต เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว มีขนาดประมาณ 10 กว้าง 6 เซนติเมตร และหนาประมาณ 3 เซนติเมตร มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ ไตมี 2 ข้างซ้ายและขวา บริเวณด้านหลังของช่องท้อง ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว บริเวณส่วนที่เว้า เป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ
โครงสร้างไต ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น หน่วยไต ชั้นนอก เรียกว่า คอร์ดเทกซ์ ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา ภายในไตประกอบด้วย หน่วยไต มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก วันหนึ่งๆ เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต ประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่ 1200 มิลลิลิตร หรือวันละ 180 ลิตร ไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาวะ แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน 1 วัน คนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1 – 1.5 ลิตร
การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง ในรูปของเหงื่อ เหงื่อประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง โดยผ่านต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง ต่อมเหงื่อมี 2 ชนิด คือ
1. ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ทั่วผิวหนังในร่างกาย ยกเว้นท่าริมฝีปากและอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีการขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา เหงื่อที่ออกจากต่อมขนาดเล็กนี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 สารอื่นๆ ร้อยละ 1 ได้แก่ เกลือโซเดียม และยูเรีย
2. ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ จะอยู่ที่บริเวณ รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก อวัยวะเพศบางส่วน ต่อมนี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรกต่อมนี้จะตอบสนองทางจิตใจ สารที่ขับถ่ายมักมีกลิ่น ซึ่งก็คือกลิ่นตัวเหงื่อ จะถูกลำเลียงไปตามท่อที่เปิดอยู่ ที่เรียกว่า รูเหงื่อ
ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ
โครงสร้างของระบบขับถ่าย
ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ไตของคนมี 1 คู่ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง
การดูแลรักษาระบบขับถ่าย
เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย คือ อาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และควรดื่มน้ำให้มาก
การกำจัดของเสียออกทางไต
ไต เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว มีขนาดประมาณ 10 กว้าง 6 เซนติเมตร และหนาประมาณ 3 เซนติเมตร มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ ไตมี 2 ข้างซ้ายและขวา บริเวณด้านหลังของช่องท้อง ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว บริเวณส่วนที่เว้า เป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ
โครงสร้างไต ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น หน่วยไต ชั้นนอก เรียกว่า คอร์ดเทกซ์ ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา ภายในไตประกอบด้วย หน่วยไต มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก วันหนึ่งๆ เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต ประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่ 1200 มิลลิลิตร หรือวันละ 180 ลิตร ไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาวะ แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน 1 วัน คนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1 – 1.5 ลิตร
การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง ในรูปของเหงื่อ เหงื่อประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง โดยผ่านต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง ต่อมเหงื่อมี 2 ชนิด คือ
1. ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ทั่วผิวหนังในร่างกาย ยกเว้นท่าริมฝีปากและอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีการขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา เหงื่อที่ออกจากต่อมขนาดเล็กนี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 สารอื่นๆ ร้อยละ 1 ได้แก่ เกลือโซเดียม และยูเรีย
2. ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ จะอยู่ที่บริเวณ รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก อวัยวะเพศบางส่วน ต่อมนี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรกต่อมนี้จะตอบสนองทางจิตใจ สารที่ขับถ่ายมักมีกลิ่น ซึ่งก็คือกลิ่นตัวเหงื่อ จะถูกลำเลียงไปตามท่อที่เปิดอยู่ ที่เรียกว่า รูเหงื่อ
การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่
กากอาหารที่เหลือกจากการย่อย จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึม สารอาหารที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็ง จากนั้นลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ ตรง และขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก ที่เรียกว่า อุจจาระ
การกำจัดของเสียทางปอด
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซและน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์จะถูกส่งเข้าสู่เลือด จากนั้นหัวใจจะสูบเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด จากนั้นปอดจะทำการกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก
ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ
การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย ไต ตับและลำไส้ เป็นต้น
การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้
การปัสสาวะ ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้
กากอาหารที่เหลือกจากการย่อย จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึม สารอาหารที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็ง จากนั้นลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ ตรง และขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก ที่เรียกว่า อุจจาระ
การกำจัดของเสียทางปอด
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซและน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์จะถูกส่งเข้าสู่เลือด จากนั้นหัวใจจะสูบเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด จากนั้นปอดจะทำการกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก
ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ
การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย ไต ตับและลำไส้ เป็นต้น
การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้
การปัสสาวะ ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้
การดื่มน้ำ การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน
จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้น การดื่มน้ำและรับประทานทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของเสียอย่างปกติ
ที่มา http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai02/diges.htm
http://www.krusarawut.net/wp/?p=3915
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น